ประวัติความเป็นมา  |
|
สมัยโบราณมีการอพยพย้ายถิ่นของประชากรและมาตั้งถิ่นฐาน แถบริมแม่น้ำวังครก เพื่อประกอบอาชีพทำการเกษตร โดยยึดหลักตามแถบริมแม่น้ำ ต่อมาได้มีการขยายพื้นที่ออกไปตั้งบ้านเรือน และชุมชนมากขึ้นอย่างในปัจจุบันนี้
|
|
|
|
|
|
|
|
สภาพทั่วไป  |
|
ที่ตั้ง
องค์การบริหารส่วนตำบลนากระตาม ก่อตั้งเมื่อ มีนาคม 2539 ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล วันที่ 19 มกราคม 2539 ซึ่งในขณะนี้ มีพื้นที่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล 38.5 ตารางกิโลเมตร
ที่ตั้งและอาณาเขต
องค์การบริหารส่วนตำบลนากระตาม ตั้งอยู่เลขที่ 157 หมู่ที่ 5 ตำบลนากระตาม อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร ซึ่งมีถนนเพชรเกษมตัดผ่าน ห่างจากอำเภอท่าแซะ 7 กิโลเมตร และห่างจากศูนย์ราชการ 10 กิโลเมตร มีอาณาเขต ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลท่าแซะ อำเภอท่าแซะ
ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลท่าข้าม อำเภอท่าแซะและตำบลหาดพันไกร อำเภอเมือง
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อำเภอปะทิวและตำบลบางลึก อำเภอเมือง
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลท่าข้าม อำเภอท่าแซะ
ภูมิประเทศ
ลักษณะพื้นที่โดยทั่วไป เป็นที่ราบลุ่ม สลับเป็นภูเขา
ภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิอากาศโดยทั่วไปมีฝนตกชุกตลอดปี เนื่องจากได้รับมรสุมทั้ง 2 ด้าน คือมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยตลอดปีเท่ากับ 192.6 มิลลิเมตร อากาศเย็นสบายในช่วงฤดูฝนและไม่ร้อนจัดในช่วงฤดูร้อน อุณภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 28.2 องศา
|
|
|
|
|
|
|
|
สภาพทางสังคม  |
|
1. การศึกษา
- ระดับประถมศึกษา จำนวน 4 แห่ง ประกอบด้วย
- โรงเรียนวัดวังครก
- โรงเรียนบ้านละมุ
- โรงเรียนบ้านประชาสันติ
- โรงเรียนวัดควนมณี
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 2 แห่ง ประกอบด้วย
1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านไทรลอด
2. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดนาหอยโข่ง
- ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนอำเภอท่าแซะ จำนวน 1 แห่ง (ม.1)
- ศูนย์บริการและถ่ายนทอดเทคโนโลยีการเกษตร จำนวน 1 แห่ง (ม. 5)
- ที่อ่านหนังสือพิมพ์หมู่บ้าน จำนวน 11 แห่ง ( ทุกหมู่บ้าน )
2. สถาบันและองค์กรทางศาสนา
- วัดวังครก
- วัดปากแพรก
- วัดเขาแก้ว
- วัดหอระฆัง
- วัดนาหอยโข่ง
- วัดควนมณี
- สำนักสงฆ์หนองน้ำขาว
|
|
|
|
|
|
|
|
สภาพทางเศรษฐกิจ  |
|
|
|
|
|
|
|
|
ด้านการบริการพื้นฐาน  |
|
สภาพเศรษฐกิจ
ประชากร ในเขตตำบลนากระตามส่วนใหญ่ประกอบอาชีพภาคเกษตรกรรมได้แก่
พืช
- ปาล์มน้ำมัน 686 ครัวเรือน พื้นที่ปลูก 9,158 ไร่
- มะพร้าว 800 ครัวเรือน พื้นที่ปลูก 4,912 ไร่
- ยางพารา 132 ครัวเรือน พื้นที่ปลูก 1,631 ไร่
- กาแฟ 167 ครัวเรือน พื้นที่ปลูก 833 ไร่
- ส้มโอ 277 ครัวเรือน พื้นที่ปลูก 603 ไร่
- กล้วยเล็บมือนาง 221 ครัวเรือน พื้นที่ปลูก 675 ไร่
- ข้าวเจ้าไวแสง 621 ครัวเรือน พื้นที่ปลูก 4,697 ไร่
ปศุสัตว์
- โคเนื้อ 1,117 ตัว เกษตรกรผู้เลี้ยง 215 ครัวเรือน
- โคลูกผสม 268 ตัว เกษตรกรผู้เลี้ยง 57 ครัวเรือน
-โคนม 43 ตัว เกษตรกรผู้เลี้ยง 4 ครัวเรือน
- กระบือ 314 ตัว เกษตรกรผู้เลี้ยง 39 ครัวเรือน
- โคพื้นบ้าน 800 ตัว เกษตรกรผู้เลี้ยง 322 ครัวเรือน
- สุกร 941 ตัว เกษตรกรผู้เลี้ยง 205 ครัวเรือน
- ไก่พื้นบ้าน 19,318 ตัว เกษตรกรผู้เลี้ยง 311 ครัวเรือน
ประมง
- ปลาดุก เกษตรกรผู้เลี้ยง 34 ครัวเรือน (34 บ่อ)
- ปลานิล เกษตรกรผู้เลี้ยง 84 ครัวเรือน (84 บ่อ)
- ปลาตะเพียน เกษตรกรผู้เลี้ยง 80 ครัวเรือน (114 บ่อ)
- ปลายี่สก เกษตรกรผู้เลี้ยง 16 ครัวเรือน (16 บ่อ)
ปลาแรด เกษตรกรผู้เลี้ยง 3 ครัวเรือน (3 บ่อ)
อาชีพอื่น ๆ
- รับจ้างทั่วไป รับจ้างทำงานโรงงาน และค้าขาย ร้านค้าปลีก
หมายเหตุ : ข้อมูลจากศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรตำบลนากระตาม
|
|
|
|
|
|
|
|
ช้อมูลสนามกีฬาในตำบลนากระตาม |
|
ท่านสามารถดาวน์โหลดเอกสารเกี่ยวกับ ช้อมูลสนามกีฬาในตำบลนากระตาม ได้ที่นี่ |
|
เอกสารแนบ :
|
|
|
|
|
ข้อมูลอุปกรณ์กีฬา/อุปกรณ์ออกกำลังกาย ของอบต.นากระตาม |
|
ท่านสามารถดาวน์โหลดเอกสารเกี่ยวกับ ข้อมูลอุปกรณ์กีฬา/อุปกรณ์ออกกำลังกาย ของอบต.นากระตาม ได้ที่นี่ |
|
เอกสารแนบ :
|
|
|
|
|